โรครากขาวในสวนยางพารา

แนวทางหยุดโรครากขาว ในสวนยางพารา

โรครากขาว” ของยางพาราเกิดจากเชื้อราขั้นสูงจำพวกเห็ด ( Basidiomycetes) ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rigidoporus microporus หรือ R.lignosus มีแนวโน้มแพร่ขยายและระบาด สร้างความเสียหายแก่พื้นที่ปลูกยาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ปลูกยางเดิม ซึ่งมีการปลูกยางแทนรอบใหม่  สามารถพบต้นยางเป็นโรคได้ตั้งแต่ 1-2 ปีแรกปลูก  ทำให้ต้นที่เป็นโรคยืนต้นตายและเป็นแหล่งเชื้อแพร่กระจายแก่ต้นข้างเคียง  ทั้งในแถวและระหว่างแถวต่อไป  ทำให้จำนวนต้นยางต่อไร่ลดลง  สูญเสียรายได้  ทั้งจากผลผลิตน้ำยางและไม้ยาง   นอกจากนี้ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการควบคุมและป้องกันโรคอีกด้วย

ปัญหาหลักของการระบาดของโรค อันเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงและวิธีการควบคุมโรครากในแปลงมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก  เป็นเหตุให้เกษตรกรไม่ได้ใส่ใจเท่าที่ควร

การกำจัดโรครากขาว   มีการจัดการค่อนข้างยุ่งยากต้องกระทำโดยวิธีผสมผสาน คือ ทั้งด้านเขตกรรม  ด้านสารเคมี  และการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด  ซึ่งสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมโรครากของยางพาราในปัจจุบันถือว่าเป็นวิธีที่สะดวก  ปฏิบัติได้ง่าย  มีประสิทธิภาพรวดเร็ว  และให้ผลดีกว่าวิธีการอื่น

1.    การเตรียมแปลงปลูกโดยการทำควมสะอาดแปลงด้วยการขุดตอไม้และรากไม้ออก เป็นวิธีป้องกันโรคที่ดีที่สุด

2.    เมื่อต้นยางเกิดโรคแล้วเกษตรกรอาจไม่ทราบสาเหตุ และไม่ใส่ใจป้องกันรักษาโรค ทำให้ต้นยางตายและลุกลามในพื้นที่กว้างอย่างรวดเร็ว

3.    หากต้นยางใหญ่แล้วเป็นโรคแล้วการจัดการจะยุ่งยากต้องใช้วิธีผสมผสาน ทั้งด้านเคมีเกษตร และเกษตรชีวภาพ ทั้งต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เกษตรกรจึงมักปล่อยให้โรคลุกลามและเป็นปัญหาเรื้อรัง

การป้องกันกำจัดโรครากขาวในทางชีวภาพ

แนะนำให้ใช้ KOKOMAX 1 กิโลกรัม/น้ำ 200 ลิตร กรณีระบาดมาก หรือ KOKOMAX 1 กิโลกรัม/น้ำ 400 ลิตร กรณีป้องกัน ราดรดให้ทั่วโคนต้นยาง และฉีดพ่นลำต้น ทั้งยังช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น รากเน่า รากขาว โคนเน่า เส้นดำ เป็นต้น หากต้นยางเป็นโรคใบจุด ในกรณีต้นเล็กก็สามารถนำไปฉีดพ่นทั่วต้น เพื่อป้องกันโรคใบจุดได้เป็นอย่างดี

https://www.kokomax.co.th

%d bloggers like this: