โรคพืชของผลไม้

ผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว มีการสูญเสียได้ง่าย สาเหตุสำคัญเกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้คุณภาพของผลิตผลลดลง การเน่าเสียของผลไม้ ทำให้มีอายุการเก็บรักษาสั้น ไม่สามารถส่งไปขายยังตลาดทั้งภายในและต่างประเทศได้ เกษตรกรและผู้ส่งออกได้รับความเสียหาย ดังนั้นการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวโดยวิธีป้องกันกำจัดโรคพืช สามารถลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้

เชื้อสาเหตุโรคพืชหลังการเก็บเกี่ยว

เชื้อแบคทีเรีย เช่น Bacilus sp., Clostidium sp., Erwinia sp. ,Pseudomonas sp.

เชื้อรา เช่น Colletotrichum gloeosporioides,Lasiodiplonia theobromae,phytophtora palmivora

ลักษณะการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์

✅ ทางช่องเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบ (stoma) และเลนติเซล (lenticel)

✅ ทางบาดแผล

✅ เข้าทำลายโดยตรง

เชื้อราสามารถแทงทะลุผ่านเข้าไปในเซลล์ เจริญเป็นเส้นใย หลังจากนั้นเส้นใยหยุดการเจริญ และแฝงอยู่ในระหว่างเซลล์บริเวณผิวของผล จนกระทั่งผลไม้สุก เชื้อราจึงสามารถเจริญและแสดงอาการของโรค การเข้าทำลายแบบนี้เรียกว่า การเข้าทำลายแบบแฝง (Latent Infection)

การแพร่ระบาด

✅ การสัมผัสกันระหว่างผลปกติกับผลที่เป็นโรค

✅ หยดน้ำกระเด็นมาถูกหรือน้ำฝนที่ตกลงมากระทบสปอร์แล้วถูกลมพัดไป

✅ มาจากกิ่ง ก้าน ใบ เศษซากพืช และดิน ที่มีเชื้อสาเหตุโรคสะสมอยู่

โรคไม้ผลหลังการเก็บเกี่ยว

มะม่วง โรคแอนแทรคโนส Colletotrichum gloeosporioides เกิดจุดสีดำรูปร่างกลม ขนาดไม่แน่นอนและขยายลุกลาม ทำให้เน่าทั้งผล มีเมือกสีส้มกระจายอยู่กลางแผล

ทุเรียน โรคผลเน่า Phytophthora palmivoraบริเวณปลายหรือก้นผล มักพบจุดช้ำสีน้ำตาลปนเทา ต่อมาแผลจะขยายเป็นวงกลมหรือค่อนข้างรี

เงาะ โรคผลเน่า Lasiodiplodia theobromae เกิดจุดสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ทั้งผลภายในเวลา 2 วัน และสร้างเส้นใยสีเทาฟู เนื้อเงาะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนิ่มเละ

กล้วยหอม โรคขั้วหวีเน่า Lasiodiplodia theobromae การเน่าเริ่มจากจุด หรือบริเวณรอยตัดที่ขั้วหวี ลุกลามไปยังก้านผล ทำให้ก้านผลเน่า และผลกล้วยจะหลุดร่วง

ลิ้นจี่ โรคผลเน่า Peronophythora litchi เกิดแผลเน่าบนผล ความชื้นสูง จะพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราขึ้นปกคลุมบนแผล

การควบคุม

✅ การใช้ความร้อน สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราบริเวณผิวและภายในเนื้อเยื่อพืช ทำให้เชื้อราอ่อนแอตายได้ แต่ต้องไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อพืช อุณหภูมิระหว่าง 50-60 องศาเซลเซียส  ให้ผลดีในการควบคุมโรคในผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวหลายชนิด

✅ การใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า กลไกการทำงานของเชื้อ คือแข่งขันแย่งชิงอาหาร สร้างสารปฎิชีวนะ เป็นปรสิต ชักนำความต้านทานในเนื้อเยื่อพืช เช่น เชื้อแบคทีเรีย Bacilus subtilis สร้างสารปฎิชีวนะในกลุ่ม iturin สามารถยับยั้งเชื้อสาเหตุโรคพืช เช่น green mold,sterm end rot และ sour rot ในส้ม เป็นต้น

✅ การใช้สารเคมีที่ปลอดภัย กลุ่ม generally recognized as safe(GRAS) บางชนิดสามารถยับยั้งการงอกและการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ เช่น ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ กรดอะซิติก เกลือคาร์บอเนต เป็นต้น

การชักนำความต้านทาน โดยการใช้ตัวกระตุ้น(elicitor) เช่น เชื้อไตรโคเดอร์ม่า ความร้อน รังสี uv เป็นต้น สามารถชัดนำให้ผลิตผลสร้างสารต่อต้านเชื้อรา เช่น สารกลุ่ม phenolic compound มีคุณสมบัติยับยั้งหรือเป็นพิษต่อเชื้อโรค เป็นต้น

ขอขอบคุณ

ดร.บุญญวดี จิระวุฒิ

%d bloggers like this: