หนอนกระทู้ผัก

หนอนกระทู้ผักเป็นแมลงที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งต่อการปลูกผักในประเทศไทย ตัวหนอนเริ่มทำลายผักตั้งแต่เริ่มฟักออกมาจะเริ่มทำลายรุนแรงมากสามารถกัดกินใบ ก้าน ดอก หัวได้ทุกส่วน ทำความเสียหายให้กับพืชผักมาก เนื่องจากเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่และแพร่ระบาดได้รวดเร็วตลอดทั้งปี ลักษณะการทำลาย หนอนเมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะอยู่รวมกันเป็น กลุ่มและแทะกินเฉพาะผิวใบพืชเหลือไว้แต่เส้นใบ เมื่อผิว ใบแห้ง ใบแห้งแล้วจะเห็นเป็นสีขาว ๆ เมื่อหนอนโตขึ้นอยู่ในวัยที่ 2-3 จะกระจายออกกัดกินใบพืชทั่วไ

หนอนตัวโตกินจุ ปริมาณมากและรวดเร็วทำให้ใบขาดเป็นรู ๆ ทั่วต้น หนอน เคลื่อนไหวช้า ในเวลากลางวันอากาศร้อน หนอนจะหลบ ลงดินหาที่ซ่อนตัว รูปร่างลักษณะชีวประวัติ (Spodoptera litura (Fabricius)) หนอนกระทู้ผักมีลำตัวอ้วนป้อม มีจุดสีดำใหญ่ ตรงปล้องที่ 3

แม่ผีเสื้อวางไข่เป็นกลุ่มใต้ใบจำนวนนับร้อยฟอง ไข่ปกคลุมด้วยขนสีฟางข้าว ระยะไข่ 3-4 วัน หนอนที่ เกิดใหม่จะอยู่รวมกลุ่มแทะกินผิวใบพืช และหนอนจะเริ่มแยกย้ายไปต้นอื่น ๆ หลังจากพ้นวัยที่ 2 หนอนโตเต็มที่มี ขนาด 3-4 เซนติเมตร และเคลื่อนไหวช้า หนอนมีการเจริญเติบโต 5 ระยะ ระยะหนอน 10-14 วัน หนอนเข้า ดักแด้ในดิน ดักแด้มีสีน้ าตาลเข้มยาวประมาณ 1.5 ซม. ระยะดักแด้ 7-10 วัน ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อขนาดกลาง เมื่อ กางปีกกว้าง 3-3.5 เซนติเมตร ปีกสีน้ำตาล ปีกคู่หน้ามีเส้นสีเหลืองพาดหลายเส้น

การป้องกันและกำจัด

1. เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลาย วิธีนี้พบว่าได้ผลดีและลดการระบาดของหนอนลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.. การใช้เชื้อจุลินทรีย์ บาซิลลัส ทูริงเยนซิส ตรา บีที-โกลด์ (BT-GOLD) ผสมสารจับใบอัตราตามฉลาก ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น เมื่อพบ หนอนเริ่มระบาด อัตรา 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบ อัตราตามฉลาก ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็นทุก 5 วันครั้ง เมื่อพบหนอนระบาด

Products
Products
Products
Products