องค์ความรู้สืบสานแนวพระราชดำริ เรื่อง ดิน

แนวพระราชดำริเรื่อง “ดิน””ดิน” เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอย่างหนึ่งเคียงคู่กับ “น้ำ” ในการทำเกษตร ต่อให้มีทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์ แต่มีดินที่เลว กล่าวคือ โครงสร้างแน่น อัดตัวเป็นก้อน ปราศจากซึ่งธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช ก็เป็นการยากต่อการปลูกพืชไม่ว่าพืชชนิดใดๆ ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญของดิน โดยเฉพาะการปรับปรุงบำรุงดินและการจัดสรรที่ดิน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของประเทศที่ทำการเกษตรเป็นหลักอย่างไทยเราจึงนำมาซึ่งแนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาดินที่สำคัญดังนี้

1. การแก้ปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร
ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินของเกษตรกร เป็นปัญหาสำคัญยิ่งในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา งานจัดและพัฒนาที่ดินเป็นงานแรกๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญ ทรงเริ่มโครงการพัฒนาที่ดินหุบกะพง ตามพระราชประสงค์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาการไม่มีที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นสำคัญ ดังพระราชดำรัสไว้ ณ สำนักงาน กปร. ในปี พ.ศ. 2531 ว่า
“มีความเดือดร้อนอย่างยิ่งว่าประชาชนในเมืองไทยจะไร้ที่ดิน และถ้าไร้ที่ดินแล้วก็จะทำงานเป็นทาสเขา ซึ่งเราไม่ปรารถนาที่จะให้ประชาชนเป็นทาสคนอื่น แต่ถ้าเราสามารถที่จะขจัดปัญหานี้ โดยเอาที่ดินจำแนกจัดสรรอย่างยุติธรรม อย่างมีการจัดตั้งจะเรียกว่านิคม หรือจะเรียกว่าหมู่หรือกลุ่ม หรือสหกรณ์ก็ตาม ก็จะทำให้คนที่มีชีวิตแร้นแค้นสามารถที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นมาได้”

พระราชดำริแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเรื่องดิน คือ ทรงนำเอาวิธีการปฏิรูปที่ดินมาใช้ในการจัดและพัฒนาที่ดินที่เป็นป่าเสื่อมโทรม รกร้าง ว่างเปล่า นำมาจัดสรรให้เกษตรกรที่ไร้ที่ทำกินได้ประกอบอาชีพในรูปของหมู่บ้านสหกรณ์ และโครงการจัดและพัฒนาที่ดินในรูปแบบอื่นๆ ทั้งนี้โดยให้สิทธิทำกินชั่วลูกชั่วหลาน แต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ในการถือครอง พร้อมกับจัดบริการพื้นฐานให้ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการจัดพื้นที่ทำกินให้ราษฎรชาวไทยภูเขา สามารถดำรงชีพอยู่ได้เป็นหลักแหล่ง โดยไม่ต้องทำลายป่าอีกต่อไป
ในการจัดพื้นที่ต่าง ๆ ดังที่กล่าวมานี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีหลักการว่าต้องมีการวางแผนการจัดการให้ดีเสียตั้งแต่ต้น โดยใช้แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศช่วย ไม่ควรทำแผนผังที่ทำกินเป็นลักษณะตารางสี่เหลี่ยมโดยไม่คำนึงถึงสภาพภูมิประเทศ แต่ควรจัดสรรพื้นที่ทำกินแนวพื้นที่รับน้ำจากโครงการชลประทาน นั่นคือ จะต้องดำเนินโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรควบคู่ไปกับการพัฒนาแหล่งน้ำ เช่น โครงการนิคมสหกรณ์หุบกะพงในพระบรมราชูปถัมภ์ อ.ชะอำ จ. เพชรบุรี โครงการจัดพัฒนาที่ดินทุ่งลุยลาย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ และโครงการจัดพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเหล่านี้ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ 1) เพื่อนำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้ในด้านการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 2) เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรมีที่ดินสำหรับประกอบอาชีพและอยู่อาศัย 3) เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรรู้จักพึ่งตนเอง และช่วยเหลือส่วนรวม ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม บางโครงการมีวัตถุประสงค์เฉพาะกิจในการบรรเทาความเดือดร้อนในเรื่องที่ทำกินของราษฎรที่ถูกอพยพออกจากพื้นที่2. การอนุรักษ์และฟื้นฟูดิน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยและให้ความสำคัญมากขึ้นในงานอนุรักษ์และฟื้นฟูดิน ที่มีสภาพธรรมชาติและปัญหาที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค โดยเขียนไว้ในเอกสารพระราชทานว่า “ดินที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรกรรม ต้องมีคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้ มีแร่ธาตุที่เรียกว่า ปุ๋ย ส่วนประกอบสำคัญคือ 1) N (nitrogen) ในรูป nitrate 2) P (phosphorus) ในรูป phosphate 3) K (potassium) และแร่ธาตุ อื่นๆ O H Mg Fe มีระดับ เปรี้ยว ด่าง ใกล้เป็นกลาง (pH 7) มีความเค็มต่ำ มีจุลินทรีย์ มีความชื้นพอเหมาะ (ไม่แห้ง ไม่แฉะ) มีความโปร่งพอเหมาะ (ไม่แข็ง)” จึงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาที่ดินที่เน้นเฉพาะเรื่องมากขึ้น เช่น การศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินทราย ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาดินพรุในภาคใต้ และที่ดินชายฝั่งทะเล รวมถึงการแก้ไขปรับปรุงและฟื้นฟูดินที่เสื่อมโทรมพังทลายจากการชะล้างหน้าดิน ตลอดจนการทำแปลงสาธิตการพัฒนาที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเสื่อมโทรม เพื่อให้พื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องดินจากหลายๆ สาเหตุ กลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อีก
ดังนั้น โครงการต่างๆ ในระยะหลัง จึงเป็นการรวบรวมความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติจากหลากหลายสาขา มาใช้ร่วมกันในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ แนวคิดและตัวอย่างการจัดการทรัพยากรดินในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 แห่ง ที่ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นตัวอย่างในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การขยายพันธุ์พืชเพื่ออนุรักษ์ดินและบำรุงดิน และสนับสนุนให้เกษตรกรเรียนรู้เข้าใจวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน สามารถนำไปปฏิบัติได้เอง ทรงมีพระราชดำริว่า “การปรับปรุงที่ดินนั้นต้องอนุรักษ์ผิวดิน ซึ่งมีความสมบูรณ์ไว้ไม่ให้ไถ หรือลอกหน้าดินทิ้งไป สงวนไม้ยืนต้น ที่ยังเหลืออยู่ เพื่อที่จะรักษาความชุ่มชื่นของผืนดิน”

แนวพระราชดำริในด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูดิน ที่สำคัญแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
1) แบบจำลองการพัฒนาพื้นที่ที่มีสภาพขาดความสมบูรณ์ ดินปนทราย และปัญหาการชะล้างพังทลาย
2) การแก้ปัญหาดินเปรี้ยว โดยทฤษฎีแกล้งดิน
3) การอนุรักษ์ดินโดยหญ้าแฝก
4) การห่มดิน

2.1 แบบจำลองการฟื้นฟูบำรุงดินที่มีสภาพขาดความสมบูรณ์ ดินปนทราย และปัญหาการชะล้างพังทลาย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาวิจัยการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ ที่มีสภาพปัญหาต่างกันตามภูมิสังคม ตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาดูงานและนำความรู้ไปปรับใช้ตามสภาพปัญหาพื้นที่ โดยทรงเขียนไว้ในเอกสารพระราชทาน ดังนี้

1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เขาหินซ้อน : ดินทราย มีแร่ธาตุน้อย
2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ : หิน กรวด แห้งแล้ง
3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : ดินเปรี้ยวจัด
4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ : ดินทราย มีแร่ธาตุน้อย ดินดาน
5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ : ดินทราย ดินเค็ม ขาดน้ำ
6. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ : ดินเค็ม
7. โครงการเขาชะงุ้ม : ดินแข็ง ดิน-หินลูกรัง
8. โครงการวัดมงคลชัยพัฒนา : ขาดน้ำ
9. โครงการปากพนัง : น้ำเค็ม ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด
10. ที่ดิน ต.บ้านพริก อ.บ้านนา : ดินเปรี้ยว น้ำท่วม น้ำแล้ง
11. โครงการ หนองพลับ-กลัดหลวง : ดินลูกรัง ดินดาน
12. โครงการหุบกระพง-ดอนห้วยขุน : ดินทราย มีแร่ธาตุน้อย ดินดาน ขาดน้ำ

13. โครงการ สหกรณ์สันกำแพง : ดินลูกรัง ขาดน้ำ
2.2 การแก้ปัญหาดินเปรี้ยวด้วย “ทฤษฎีแกล้งดิน”


ดินเปรี้ยวหรือดินพรุ เป็นสภาพธรรมชาติของดินที่เกิดจากอินทรียวัตถุสะสมจำนวนมาก เป็นเวลานานจนแปรสภาพเป็นดินอินทรีย์ที่มีความเป็นกรดกำมะถันสูง เมื่อดินแห้งกรดกำมะถันจะทำปฏิกิริยากับอากาศ ทำให้แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำการเกษตรได้ผลน้อยไม่คุ้มทุน พบมากในภาคตะวันออกและภาคใต้ และบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล ในการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแนวพระราชดำริ “แกล้งดิน” โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการแกล้งดิน เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการแกล้งดินให้เปรี้ยว ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไปเพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรต์ (Pyrite หรือ FeS2) ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน (O2) ในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถัน (sulphuric Acid) ออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น “แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด” จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ 1. ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรต์อยู่ เพื่อไม่ให้สารไพไรต์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์ (Oxidization)


2. การปรับปรุงดินมี 3 วิธีการ ตามสภาพของดินและความเหมาะสม ได้แก่ ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด ดินจะเปรี้ยวจัดในช่วงดินแห้งหรือในฤดูแห้ง ดังนั้นการชะล้างควรเริ่มในฤดูฝนเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำชลประทาน การใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดต้องกระทำต่อเนื่องและต้องหวังผลในระยะยาว มิใช่กระทำเพียง 1 หรือ 2 ครั้งเท่านั้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่จำเป็นต้องมีน้ำมากพอที่จะใช้ชะล้างดินควบคู่ไปกับการควบคุมระดับน้ำใต้ดิน ให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์มาก เมื่อดินคลายความเปรี้ยวลงแล้วจะมีค่า pH เพิ่มขึ้น อีกทั้งสารละลายเหล็กและอลูมินัมที่เป็นพิษก็เจือจางลงจนทำให้พืชสามารถ เจริญเติบโตได้ดี ถ้าหากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟตช่วย ก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี ถ้าหากใช้ปุ๋ยในโตรเจนและฟอสเฟตช่วยก็สามารถทำการเกษตรได้ ใช้ปูนผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน ปูนที่หาได้ง่ายในท้องที่ เช่น ใช้ปูนมาร์ล (mar) สำหรับภาคกลาง หรือปูนฝุ่น ( lime dust ) สำหรับภาคใต้ หว่านให้ทั่ว 1-4 ตันต่อไร่แล้วไถแปรหรือพลิกกลบคืน ข้อควรจำคือ ไม่มีสูตรตายตัว โดยปริมาณของปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในความเป็นกรดของดิน


การใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีการที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมา ในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดรุนแรงและถูกปล่อยทิ้งเป็นเวลานาน โดยเริ่มจากหว่านปูนให้ทั่วพื้นที่ ใช้ปูน 1-2 ตันต่อไร่ แล้วไถกลบ จากนั้นใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดออกจากหน้าดิน และควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์มากเพื่อป้องกันไม่ให้ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เพราะจะทำดินกลายเป็นกรด

3. การปรับสภาพพื้นที่มีอยู่ 2 วิธี ได้แก่

การปรับผิวหน้าดิน โดยการทำให้ผิวหน้าดินลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลออกไปสู่คลองระบายน้ำได้หรือ ถ้าเป็นการทำนาก็จัดตกแต่งแปลงนาและคันนา ให้สามารถเก็บกักน้ำและสามารถระบายน้ำออกได้ถ้าต้องการ
การยกร่องปลูกพืช วิธีนี้ใช้สำหรับพื้นที่ที่จะทำการปลูกพืชไร่ พืชผัก ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น แต่วิธีนี้จำเป็นจะต้องมีแหล่งน้ำชลประทาน เพราะจะต้องขังน้ำไว้ในร่องเพื่อใช้ถ่ายเทเปลี่ยน เมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด ในการขุดร่องนี้ เกษตรกรจะต้องทราบว่าในพื้นที่นั้นมีดินชั้นเลนซึ่งเป็นดินที่มีสารประกอบไพไรต์มากอยู่ลึกในระดับใด เพราะเมื่อขุดร่องจะให้ลึกเพียงระดับดินเลนนั้น โดยทั่วไปจะลึกไม่เกิน 100 เซนติเมตร ขั้นตอนการปรับปรุงดินเพื่อทำการเกษตรประเภทต่างๆ

 

ขั้นตอนการขุดร่องสวน วิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร
ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยวเพื่อปลูกข้าว
ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยวเพื่อปลูกพืชล้มลุก
ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยวเพื่อปลูกไม้ผล

2.3 การอนุรักษ์ดินด้วยหญ้าแฝกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534 ทรงตรัสว่าหญ้าแฝกเป็นหญ้าของไทยสามารถใช้อนุรักษ์ดินและน้ำได้ดี ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ในขณะนั้นยังไม่มีใครรู้จักหญ้าแฝก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระองค์แรกที่ทำการทดลองเลี้ยงและปลูกหญ้าแฝกเป็นจำนวน 1 ล้านถุงแรกที่ดอยตุง หลายหน่วยงานพยายามค้นหาหญ้าแฝกตามสถานที่ต่างๆ แต่ก็ล้มเหลว จนต้องเชิญ ดร.เต็ม สมิตินันท์ ปรมาจารย์ทางด้านพฤกษศาสตร์ ท่านก็ไปช่วยหาหญ้าแฝกทั่วประเทศ ในที่สุดก็เจอหญ้าแฝกที่เพชรบุรี เป็นหญ้าแฝกที่มีกอใหญ่มาก จากนั้นก็เริ่มรวบรวมหญ้าแฝก กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานแรกที่ทำการรวบรวมหญ้าแฝก โดยรวบรวมมาจากหลายจังหวัด ขณะนี้สามารถรวบรวมสายพันธุ์ของหญ้าแฝกได้กว่า 100 สายพันธุ์ ถ้าพบที่สงขลาเรียกว่าสายพันธุ์สงขลา พบที่กำแพงเพชรเรียกว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร พบที่อุดรก็เรียดว่าสายพันธุ์อุดร จากการสำรวจพบว่ามีกระจายอยู่ทั่วประเทศ กรมพัฒนาที่ดินได้นำเอาหญ้าแฝกมาป้องกันการชะล้างพังทลายหน้าดินตามลำคลอง อ่างเก็บน้ำ หญ้าแฝกช่วยกรองทำให้น้ำใส

 

(ที่มา :จากการบรรยาย ดร.วีระชัย ณ นคร 27 สิงหาคม 2553 ในการเสวนา “เกษตรยั่งยืน ฟื้นฟูภูมิปัญญา พัฒนาสู่สากล” ในงาน ทักษิณวิชาการ-เกษตรแฟร์ ครั้งที่ 6 และงานนิทรรศการปิดทองหลังพระฯ)ประโยชน์ของหญ้าแฝก
หญ้าแฝกมีรากยาวที่สุดในบรรดาพืชตระกูลหญ้าทั้งหมด ดินที่แข็งมากก็ทำให้ร่วนซุยด้วยหญ้าแฝก ภายใน 6-8 เดือน หญ้าแฝกจะหยั่งรากลึกชอนไชให้ดินเกิดรูพรุนทำให้ดินใช้ประโยชน์ได้ และสามารถฟื้นฟูดินที่เสื่อมสภาพให้ใช้ประโยชน์ได้ภายใน 1 – 2 ปี

ประโยชน์ของหญ้าแฝกมีดังนี้

1) ปรับปรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของดิน
2) ป้องกันการชะล้างพังทะลายของดินในพื้นที่เปิดใหม่ลาดชันหรือในพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก
3) ช่วยป้องกันการสูญเสียหน้าดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตะกอนดินที่ถูกน้ำกัดเซาะและพัดพามา โดย จะถูกกอหญ้าแฝกดักไว้เมื่อเวลาผ่านไปหลาย ๆ ปีจะกลายเป็นขั้นบันไดดินตามธรรมชาติ
4) ช่วยลดความรุนแรงและความเร็วของน้ำไหลบ่าเมื่อน้ำไหลมาปะทะแนวกอแฝก แล้วน้ำจะซึมลงสู่ดิน น้ำบางส่วนจะไหลผ่านแนวกอแฝกอย่างช้า ๆ
5) ช่วยเสริมความมั่นคงแข็งแรงตามแนวตลิ่ง ฝายกั้นน้ำ ทางระบายน้ำ คลองส่งน้ำ ริมถนนสูง
6) ใช้เป็นวัสดุคลุมดินรักษาความชุ่มชื้นและควบคุมวัชพืช
7) สามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์และปุ๋ยหมักได้เป็นอย่างดี
8) สามารถนำรากหญ้าแฝกหอมมาสกัดเพื่อทำน้ำหอม และเครื่องหอม ได้แก่ ใช้อบเสื้อผ้า ทำสบู่ผสมกับสีผึ้ง และดินสอพอง
9) สามารถนำไปทำเป็นสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์หัตถกรรมและเครื่องปั้นดินเผา
10) นำใบใช้ทำตับหญ้ามุงหลังคา ใช้ทำเครื่องประดับ เครื่องใช้ เช่น กระเป๋า พัด ไม้แขวนเสือ ส่วนรากใช้ทำน้ำมันหอม สบู่ ยาสมุนไพรรักษาโรคบางชนิด เช่น รากบดละเอียดผสมน้ำแก้ไข้ แก้โรคเกี่ยวกับน้ำดี รากต้มดื่มช่วยละลายนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

11) เพื่อการฟื้นฟูสภาพดินในพื้นที่ที่เป็นดินเกลือ มีการทดลองปลูกหญ้าแฝกบนพื้นที่ดินเค็มเพื่อดูดเกลือ และปลูกด้านข้างของลำคลองที่เป็นดินเกลือ พบว่าหญ้าแฝกสามารถเติบโตได้”หญ้าแฝกเป็นพืชที่ระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพงช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมาศึกษาและทดลองปลูกในพื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวางโดยพิจารณาจากลักษณะของภูมิประเทศ คือ บนพื้นที่ภูเขา ให้ปลูกหญ้าแฝกตามแนวขวางความลาดชันและในร่องน้ำของภูเขา เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินและช่วยเก็บความชื้นของดินไว้ด้วย บนพื้นที่ราบให้ปลูกหญ้าแฝกรอบแปลงพืชไร่ให้ปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่เพื่อที่รากของหญ้าแฝกจะอุ้มน้ำไว้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นในดิน” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวความรู้เกี่ยวกับหญ้าแฝก – ลักษณะของหญ้าแฝก

– การขยายพันธุ์หญ้าแฝก
– การดูแลรักษาหญ้าแฝก
– รูปแบบการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรม
– การปลูกหญ้าแฝกตามหลักวิชาการ

2.4 การห่มดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริในการดูแลและรักษาดินอีกทางหนึ่ง นั่นคือ “การห่มดิน” เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้น จุลินทรีย์ทำงานได้ดี อันจะส่งผลให้ดินบริเวณนั้นทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินและพัฒนาทรัพยากรดินให้เกิดแร่ธาตุ ทั้งนี้การห่มดินมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีการ เช่น ใช้ฟางและเศษใบไม้มาห่มดินหรือวัสดุอื่นตามที่หาได้ตามสภาพทั่วไปของพื้นที่, การใช้พรมใยปาล์ม (wee drop) ซึ่งทำมาจากปาล์มที่ผ่านการรีดน้ำมันแล้ว เริ่มจากการนำทะลายปาล์มมาตะกุยให้เป็นเส้น ๆ ก่อนจะเอาไปอัดให้เป็นแผ่นเป็นผ้าห่มดิน นอกจากประโยชน์ที่กล่าวไปแล้ว การห่มดินยังจะช่วยคลุมหน้าดินไม่ให้วัชพืชขึ้นรบกวนต้นไม้/พืชหลักอีกด้วยกรณีตัวอย่างการนำแนวพระราชดำริไปประยุกต์ใช้

 

จ่าเอกเขียน สร้อยสม นายจันทร์ ชาญแท้
นายสมโชค สำราญ
นายสำรอง แตงพลับ
นายอนิรุทธิ์ ศรีสุรินทร์ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
กรมพัฒนาที่ดิน ดร.พิสุทธิ์ วิจารณ์สรณ์ โครงการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ
ดร.วีระชัย ณ นคร มูลนิธิชัยพัฒนา
ดร.อุทัย จารณศรี โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
นายเจษฎา สาระ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จ.เพชรบุรี
นายเกริกเกียรติ ทินนา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ จ.เชียงใหม่

———————————
สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
๙๘๙ อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น ๒๖ ปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐

%d bloggers like this: